การฝังเข็ม (Acupuncture) คืออะไร
           การฝังเข็ม เป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรคด้วยการแทงลงไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้เลือดและระบบลมปราณไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลย์ของร่างกายที่เจ็บป่วย  โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีนที่มีพัฒนาการมากกว่า 5000 ปี


เข็มที่ใช้ในการฝัง

         ใช้เข็มสแตนเลสที่มีขนาดเล็ก ไม่กลวง ปลายเข็มไม่ตัด เป็นเข็มพิเศษที่ผลิตเพื่อการฝังเข็มโดยเฉพาะ มีหลายขนาด สะอาดปราศจากเชื้อ ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้อีกโดยเด็ดขาด

_____________________________________________________________________________________

การรักษาโรคอะไรได้บ้างฝังเข็ม

         ฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้มากมาย ได้แก่

  • กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดเข่า รูมาตอยด์ นิ้วล็อค ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน
  • อัมพฤกษ์
  • โรคปากเบี้ยว(Facial palsy)
  • โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหู หูดับ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
  • โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน ริดสีดวงทวาร สะอึก ปวดท้องเรื้อรัง
  • โรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ
  • ลดความอ้วน และเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
  • เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
  • โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
_____________________________________________________________________________________

ศาสตร์แพทย์แผนจีนเพื่อความงาม



          ศาสตร์แพทย์จีนเชื่อว่า ใบหน้าเป็นศูนย์รวมลมปราณที่เชื่อมกับอวัยวะภายในไว้มากที่สุดเมื่ออวัยวะภายในทำงานไม่สัมพันธ์กัน  จะแสดงออกบริเวณใบหน้า  เช่น ผิวแห้งกร้าน  เกิดริ้วรอย  ใบหน้าหมองคล้ำ   เกิดสิว ฝ้า

ปัญหาผิวพรรณที่รักษาได้ผลดี
  • ใบหน้าหมองคล้ำ
  • สิวอักเสบ  สิวหนอง
  • ฝ้า   กระ
  • ร่องแก้มลึก  ผิวหน้าหย่อนคล้อย
  • ริ้วรอย   รูขุมขนกว้าง
  • ผิวแห้งกร้านขาดความชุ่มชื้น
_____________________________________________________________________________________

การฝังเข็มทำอย่างไร เจ็บหรือไม่

ใน ขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บคล้ายมดกัด และเมื่อเข็มแทงลึกลงไปถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อ ๆ หน่วง ร้าวไปตามทางเดินของลมปราณ

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรับบริการฝังเข็ม

-  รับประทานอาหารหรือยา ก่อนมารับบริการฝังเข็ม

-  สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ไม่รัด หรือทำให้อึดอัด

ข้อห้ามในการฝังเข็ม

ไม่ทำการฝังเข็มในผู้ป่วยดังต่อไปนี้

-  ตั้งครรภ์ยังไม่ครบกำหนด

-  โรคเลือดหรือมีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด

-  โรคเร่งด่วนที่ต้องการการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างแน่นอน

-  โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ 

-  โรคที่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิดหรือโรคกรรมพันธุ์   

-  ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย ห้ามรักษาโดยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า

_____________________________________________________________________________________

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

         หลังจากที่ฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษโดยเฉพาะ เป็นกระแสไฟฟ้าตรงประมาณ 9 โวลท์ จึงไม่สามารถทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะรู้สึกกระตุ้นที่กล้ามเนื้อเป็นจังหวะ แรงพอทนได้ ทำให้เข็มกระดิกเป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า และไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้

การครอบแก้ว (Cupping) 




          เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัด ทำให้รักษาอาการปวดได้ หลังจากการทำแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีสีม่วงคล้ำเป็นจ้ำ แต่ไม่มีอันตราย และจะหายได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์


ต้องมารับการรักษาฝังเข็มนานเท่าไร

          จะต้องมาฝังเข็มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และต้องมาฝังเข็มอย่างน้อย 10 ครั้ง หรือแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์

เว็บสำเร็จรูป
×